ความแตกต่างของพิธีผูกข้อมือ กับ ยกน้ำชา

ความเหมือนและแตกต่างของพิธีแต่งงานแบบไทยและจีน

ความแตกต่างของพิธีผูกข้อมือ กับ ยกน้ำชา
28 สิงหาคม 2566
บทความ
อ่าน 20 นาที

ความแตกต่างของพิธีผูกข้อมือ กับ ยกน้ำชา

ความเหมือนและแตกต่างของพิธีแต่งงานแบบไทยและจีน

พิธีผูกข้อมือ

พิธีผูกข้อมือนั้น เป็น ประเพณีขั้นตอนงานมงคลสมรสของภาค อีสาน โดยเรียกกันว่า ประเพณีกินดอง ในที่นี้หมายถึงประเพณีการรวมครอบครัว หรือ การจัดพิธีมงคลสมรสเกี่ยวดองของทางอีสาน โดยเดิมทีขั้นตอนดั้งเดิมเป็นของทางภาคอีสานแต่แล้วได้รับการประยุกต์มาเป็นพิธีรับไหว้ในแบบพิธีไทยในปัจจุบัน โดยขั้นตอนเดิมของการทำพิธีมงคลของชาวอีสานจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันกับพิธีอื่น ๆ แต่ล้วนแล้วแต่แฝงไปด้วยความหมายมงคลทั้งสิ้น โดยขั้นตอนในพิธีแต่งงานผูกข้อมือดั้งเดิมของทางภาคอีสานนั้นมีดังนี้
  1. พิธีสู่ขอ
    เป็นการที่ฝ่ายชายไปแจ้งแก่ฝ่ายผู้ใหญ่ให้มาสู่ขอเจ้าสาว ซึ่งทางฝั่งผู้ใหญ่จะมีการตกลงค่าสินสอดทองหมั้น และ กำหนดวันจัดงาน โดยทางเจ้าบ่าวจะต้องเตรียมขันใส่หมากพลูพันเงิน 3 บาทเพื่อมาทำพิธีสู่ขอ

  2. พิธีแห่ขันหมาก
    ตั้งขบวนขันหมากโดยในขั้นตอนนี้ก็เหมือนกับการตั้งขันหมากในแบบประเพณีอื่นๆ โดยตั้งขบวนขันหมาก เรียงลำดับ ดังนี้ พานขันหมากเอก (นิยมให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายเป็นผู้ถือ) พานสินสอดทองหมั้น (นิยมให้พ่อและแม่เจ้าบ่าวเป็นผู้ถือ) พานแหวนหมั้น (นิยมให้ญาติผู้พี่หรือน้องเจ้าบ่าวเป็นผู้ถือ) พานธูปเทียนแพ (นิยมให้เจ้าบ่าวเป็นผู้ถือ) พานต้นกล้วย ต้นอ้อย (นิยมให้เพื่อนเจ้าบ่าวเป็นผู้ถือ) และพานขันหมากโท เช่น พานไก่ต้ม พานหมูต้ม พานวุ้นเส้น พานขนมจันอับ พานขนมมงคล เป็นต้น

  3. พิธีสู่ขวัญ หรือ พิธีผูกข้อมือ
    พิธีบายสีสู่ขวัญแต่โบราณของชาวอีสาน จะต้องทำพิธีโดยหมอสูตรหรือหมอพราหมณ์ ซึ่งจะมีการสวดอวยพรให้แก่คู่บ่าว-สาว โดยหมอพราหมณ์จะนำไข่ต้มบนยอดบายศรีมาทำนาย แล้วแบ่งให้บ่าว-สาวได้ทานกันคนละครึ่ง แล้วจึงทำพิธีผูกข้อมือและอวยพรให้คู่บ่าว-สาว โดยเริ่มจากประธานในพิธี ญาติผู้ใหญ่ พ่อแม่ และคนสนิทตามลำดับ

  4. พิธีสมมา หรือ พิธีขอขมาผู้ใหญ่
    พิธีนี้คล้ายกับการรับไหว้ ถือเป็นการแสดงความเคารพผู้ใหญ่ โดยคู่บ่าวสาวยกพานธูปเทียนแพกราบผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะผูกข้อมือ และ ให้พรตอบ รวมถึงทรัพย์สินเงินทอง ขั้นตอนพิธีนี้ถือว่าคล้ายคลึงกับพิธีแต่งงานแบบจีน ในขั้นตอนพิธีการยกน้ำชานั่นเอง แต่ถ้าในแบบดั้งเดิมของภาคอีสานนั้น จะเปลี่ยนจากการมอบทรัพย์สินเป็นการ ผ้าซิ่นและผ้าโสร่งแทน

  5. พิธีส่งตัวเข้าหอ
    พิธีนี้ตามความเชื่อมักนำผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต มาปูที่นอน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่บ่าว-สาว เมื่อถึงฤกษ์ดีเข้าห้องหอให้ญาติผู้ใหญ่เป็นผู้จูงมือเข้าหอ นอนลงบนเตียงพอเป็นพิธีและรับพร หลังจากนั้นให้ทำเสียงไก่ขัน เปรียบเสมือนว่าเช้าแล้ว ปลุกให้ตื่นนอนเป็นอันเสร็จพิธี

พิธียกน้ำชา

ในยุคปัจจุบันไม่ค่อยเห็นพิธ๊แต่งงานแบบจีนแท้ ๆ มากนัก มักนิยมเห็นงานแต่งไทยผสมจีนเป็นจำนวนมากโดยหาก ในพิธีแต่งงานจีนแท้ ๆ นั้นไม่ได้มีแค่ขั้นตอนยกน้ำชา ยังมีขั้นตอนอื่น ๆ อีกมากมายที่จะมาอธิบายกัน โดยงานพิธีจีนจะมีรายละเอียดที่แตกต่างจากงานพิธีรูปแบบอื่นๆ ซึ่งจะเน้นข้าวของและอุปกรณ์ที่มีความหมายมงคลทั้งสิ้น
  1. พิธีแห่ขันหมาก
    ในพิธีแห่นขันหมากนั้นเหมือนกับพิธีแห่ขันหมากไทยอย่างมาก แต่จะต่างกันตรงเครื่องขันหมาก โดยที่พิธีจีนดั้งเดิมจะไม่กั้นประตูเงินประตูทองในช่วงแห่ขันหมาก แต่จะกั้นประตูในช่วงพิธีรับตัวเจ้าสาวแทน แต่ในบางกรณีที่เป็นพิธีไทยผสมจีน หากจะกั้นประตูช่วงแห่ขันหมากก็สามารถทำได้ โดยเถ้าแก่ และพ่อแม่ของฝ่ายชายจะเป็นผู้นำขบวนขันหมากเพื่อเข้าสู่งานพิธี

  2. พิธีรับตัวเจ้าสาว
    ในพิธีรับตัวเจ้าสาวเมื่อถึงฤกษ์งามยามดี ฝ่ายเจ้าบ่าวจะเดินทางมาที่บ้านเจ้าสาว โดยเจ้าสาวจะนั่งถือพัดแดงรอเจ้าบ่าวในห้อง และให้ญาติๆ เจ้าสาวเป็นผู้ต้อนรับครอบครัวเจ้าบ่าว จากนั้นเถ้าแก่จะพาฝ่ายเจ้าบ่าวเจรจาผ่านประตูเงินประตูทอง เมื่อเข้ามาถึงในบ้านเจ้าสาว เจ้าบ่าวจะต้องไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ และไหว้บรรพบุรุษของเจ้าสาว ด้วยเครื่องเซ่นไหว้ที่เตรียมไว้ เพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าตนเองและเจ้าสาวจะเป็นครอบครัวเดียวกัน จากนั้นเจ้าบ่าวจะเข้าไปรับเจ้าสาว มอบช่อดอกไม้ให้ และนั่งทานขนมอี๊สีชมพูด้วยกัน เมื่อทานขนมเสร็จจึงกราบลาพ่อแม่ เพื่อจะเดินทางกลับไปบ้านเจ้าบ่าว

  3. พิธีหมั้น และ ทานขนมอี๊
    เข้าสู่พิธีหมั้น การสวมแหวนตามฤกษ์ แล้วจึงทำพิธีเปิดสินสอด โดยฝ่ายผู้ใหญ่และประธานของงานจะโปรยข้าวตอกดอกไม้ กล่าวคำอวยพร มงคล และให้คุณแม่เจ้าสาวห่อสินสอดนำไปเก็บไว้ โดยหลังเสร็จพิธีหมั้น บ่าว-สาวจะต้องทานขนมอี๋หรือขนมบัวลอย ซึ่งมีความหมายถึงการปรองดองของครอบครัว ให้ทั้ง 2 ครอบครัวรักกันกลมเกลียวเหนียวแน่น เป็นอีกหนึ่งความชื่อโบราณที่มีมาอย่างยาวนาน

  4. พิธียกน้ำชา
    พิธียกน้ำชา มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าพิธี “ชั่งเต๊” เป็นพิธีแสดงความเคารพญาติผู้ใหญ่ตามธรรมเนียมจีน โดยสิ่งของที่ต้องเตรียมคือกา และ ถ้วยน้ำชานั้นฝ่ายหญิงจะจัดหามา ญาติผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมพิธีจะต้องนั่งตามลำดับอาวุโส โดยญาติฝ่ายชายจะอยู่ซ้ายมือ และคนที่แต่งงานกันจะต้องนั่งด้วยกัน เมื่อเริ่มพิธี บ่าวสาวจะคุกเข่าลงรินน้ำชาใส่ถ้วย วางบนถาด ใช้สองมือยกถาดขึ้นพร้อมกัน และส่งให้ผู้ใหญ่ดื่มจนหมดถ้วย จากนั้นญาติผู้ใหญ่ก็จะอวยพร และให้เงินทองของขวัญ ซึ่งบ่าวสาวก็จะมอบของรับไหว้เป็นการตอบแทน

  5. พิธีส่งตัว
    พิธีนี้จะแตกต่างจากพิธีไทย เนื่องจากพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายจะไม่สามารถเข้าไปส่งตัวด้านในห้องได้ จึงจะมีการกราบลาพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนเข้าห้อง ซึ่งท่านจะรดน้ำมนต์และอวยพรเพื่อความเป็นสิริมงคลล่วงหน้าโดยการตั้งขบวนเพื่อไปห้องส่งตัว ให้พี่น้องของบ่าวสาวช่วยกันถืออุปกรณ์ต่างๆสำหรับพิธีส่งตัว ตะเกียง เซฟแดง เอี๊ยม ต้นชุงเช่า และกระเป๋าเดินทางตามขบวนไปด้วย โดยเมื่อถึงห้องให้นำของทั้งหมดไปวางไว้หัวเตียง แล้วออกจากห้องเป็นอันจบพิธี

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อแตกต่างระหว่างพิธีไทยและจีน แต่ในปัจจุบันมีพิธีที่เป็นรูปแบบลูกครึ่งมากขึ้นมักขึ้นอยู่กับครอบครัวทั้งสองฝ่าย นี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆน้อยเพื่อทีจะนำมาปรับให้เข้ากับคู่บ่าว-สาวนั้นเอง แต่หากต้องการที่ปรึกษาในด้านการจัดพิธีมงคลสมรสที่ถูกต้อง ตามความต้องการของคู่บ่าว-สาวนั้นควรมีผู้เชี่ยวชาญ ในการให้คำแนะนำที่ถูกต้องและมีบริการครบวงจรให้แก่ครอบครัวบ่าว-สาวได้ตัดสินใจอย่างครบถ้วน MAGIC LOVE HOUSE มีแพ๊คเกจ ที่ทุกท่านถูกใจให้เลือกสรรค์มากมายอีกทั้งยังมีสถานที่จัดงานแต่งงานหลากหลาย รูปแบบทั้งใน สถานที่จัดงานแต่งงาน นนทบุรี สถานที่จัดงานแต่ง นครปฐม สถานที่แต่งงาน นนทบุรี สถานที่จัดงานแต่งงาน กรุงเทพ สามารถจัดงานแต่งงานได้ทุกๆประเพณีทีท่านต้องการ พร้อมทั้งผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ที่ถูกต้องครบวงจรนั้นเอง  

 

Magic love house

60/42 หมู่ที่ 7 ถ.พุทธมณฑลสาย4 อ้อมน้อย กระทุ่มแบน. สมุทรสาคร 74130 ประเทศไทย

โทร : 0659238650 

Email : magiclovedesign@gmail.com

แชทเลย แชท
Magic Love House Chat
ส่งข้อความ
ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
เราได้รับข้อมูลและจะทำการติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด สอบถามเพิ่มเติมโทร 028 599 0287
เกิดข้อผิดพลาด
กรุณาทำรายการใหม่อีกครั้ง
กลับสู่หน้าแชท